วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

การประยุกต์ใช้งาน

การประยุกต์ใช้งาน

       ระบบไมโครคอมพิวเตอร์จะสามารถทำงานได้ จะต้องประกอบด้วย 2 ส่วนคือฮาร์ดแวร์ และ ซอฟต์แวร์ ซึ่งความหมายของ ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ วงจรลอจิกและชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบกันเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนซอฟต์แวร์หมายถึง โปรแกรมที่จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ ซึ่งซอฟต์แวร์นี้อาจจะอยู่ในรูปต่างๆ เช่น รหัสเลขฐานสองที่อยู่ในหน่วยความจำ ภาษาระดับสูง หรืออาจรวมทั้งคู่มือ และเอกสารประกอบต่างๆ ด้วย ในบทนี้จะได้กล่าวถึงการเขียนซอฟต์แวร์ที่เป็นโปรแกรมภาษาแอสแซมบลี้เพื่อเป็นตัวอย่างในการนำระบบไมโครคอมพิวเตอร์ ไปประยุกต์ใช้งาน เช่นการเขียนโปรแกรมไฟวิ่งออก LED หรือการเขียนโปรแกรมเรียกใช้โปรแกรมย่อยในระบบนำมาใช้งาน สามารถแสดงการเขียนโปรแกรมดังนี้
 
การเรียกใช้โปรแกรมย่อยจากระบบ (System CALL)
            ตัวอย่างการเรียกใช้ Subroutine Sound ใน Monitor ของเครื่อง เพื่อกำเนิดเสียงตั้งแต่ความถี่ต่ำ ไปยังความถี่สูง ซึ่งมี Subroutine สำหรับกำเนิดเสียงไว้ให้แล้ว โดยการเรียกใช้ผ่าน System Call ซึ่งมีวิธีการใช้ดังนี้
                 - ใส่ Code 01H ที่ Reg. A
                 - กำหนดค่า Reg. B = ระดับความดังของเสียง
                                    C = ระดับความถี่ของเสียง
                                    HL = ช่วงความยาวในการกำเนิดเสียง
                 - ใช้คำสั่ง RST 10H เพื่อจะใช้เรียก Subroutine Sound
โปรแกรมต่อไปนี้เป็นตัวอย่างการเรียกใช้ Subroutine Sound
 
 
 
 
การเขียนโปรแกรมไฟวิ่งออก LED
 
หลักการของไฟวิ่งประกอบด้วยตัวแปร 2 ตัวคือ
1. จังหวะเวลา
2. รูปแบบการติดตับของไฟ
ถ้าสมมุตว่ามีหลอดไฟอยู่ 8 ดวง และต้องการให้ติดทีละดวงเรียงจากขวาไปซ้ายดังรูป
 
      
          เราสามารถกำหนดลักษณะการวิ่งดังกล่าว ในรูปแบบข้อมูลของไมโครโปรเซสเซอร์ได้ โดยกำหนดให้ดวงที่ติดสว่างเท่ากับ "1" และดวงที่ดับเท่ากับ "0" และทำการส่งข้อมูลที่กำหนดไว้นี้ ออกมาทาง Port โดยหน่วงเวลาในการส่งให้เท่าๆ กัน เราก็จะได้ OUTPUT ที่สามารถจะนำไปซับหลอดไฟให้วิ่งได้ ลักษณะข้อมูลจะเป็นดังนี้
 
 
      จากนั้น เราก็สามารถทำโปรแกรมเพื่อกำหนดให้ไมโครโปรเซสเซอร์ส่งข้อมูลเหล่านี้ ออกทาง Port output บนหลักการนี้จะเห็นได้ว่า ไฟวิ่งในระบบไมโครโปรเซสเซอร์นี้มีข้อเด่นดังต่อไปนี้

     1. เราสามารถเปลี่ยนรูปแบบของไฟวิ่งเป็นอย่างไรก็ได้ โดยเพียงแต่เปลี่ยนชุดข้อมูลอันนี้เท่านั้น
     2. ไฟวิ่งทั่วๆ ไป จะมีการครบรอบตามที่กำหนดไว้แน่นอน แต่ไฟวิ่งในไมโครโปรเซสเซอร์นี้ สามารถให้รอบมีความยาวได้อย่างมากมาย เช่น ในชุดข้อมูลที่กล่าวมาแล้วนี้เรายังสามารถเขียนโปรแกรมให้หลอดไฟวิ่งจากขวามาซ้ายต่อไปได้อีก
    3. ความเร็วของไฟวิ่งนี้ เราสามารถจะกำหนดได้โดยเพียงแต่กำหนดระยะในการหน่วงเวลาของข้อมูลที่จะส่งออกไปเท่านั้นเอง
    4. ลักษณะเด่นทั้งหมดที่กล่าวนี้ เราสามารถทำกรเปลี่ยนแปลงได้ โดยการเปลี่ยนแปลงที่โปรแกรม (SOFTWARE) เท่านั้น ซึ่งสามารถทำได้อย่างรวดเร็วและลงทุนลงแรงน้อยกว่า
 
ตัวอย่างโปรแกรมไฟวิ่งออก LED โดยต้องการให้วิ่งจากขวามาซ้าย สามารถแสดงให้เห็นได้ดังนี้
 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น