วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

กลุ่มคำสั่งทางลอจิก

กลุ่มคำสั่งทางลอจิก 

        กลุ่มคำสั่งทางลอกจิก จะมีส่วนของคำสั่งที่เกี่ยวข้อง คือคำสั่งการกระทำทางลอจิกคำสั่งการเลื่อนบิท และคำสั่งการสลับข้อมูล nibble
         คำสั่งการกระทำทางลอจิกได้แก่ การ Complement การ AND OR และ XOR ซึ่งข้อมูลจำนวนหนึ่งต้องมาจาก Reg. A เสมอส่วนข้อมูลอีกตัวหนึ่งอาจจมาจาก คำสั่งทันทีหรือมาจากรีจิสเตอร์ต่างๆ ภายใน CPU หรือมาจากหน่วยความจำภายนอกด้วยวิธีการอ้างถึงหน่วยความจำแบบต่างๆ ข้อมูลทั้ง 2 ตัวนี้ จะมาทำตามฟังก์ชั่นที่กำหนดให้ โดยคำสั่งผลลัพธ์ของการกระทำจะกลับไปสู่ Reg. A พร้อมทั้งสถนะต่างๆ ของการทำงานจะแสดงที่แฟลก
          คำสั่งการเลื่อนบิท เป็นคำสั่งการคูณและการหาร ด้วย 2 ใน Reg. หรือหน่วยความจำโดยถือว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นไบนารี 8 บิท
          คำสั่งการสลับข้อมูล nibble เป็นคำสั่งการหมุนข้อมูลในหน่วยความจำซึ่งบ่งด้วยค่า Reg. HL
 
การกระทำทางลอจิก


การเคลื่อนบิท
การสลับข้อมูล nibble

         การสลับข้อมูล nibble หรือการสลับข้อมูลขนาด 4 บิท ใน CPU เบอร์ Z-80 มีคำสั่งข้อมูลขนาด 4 บิท อยู่ 2 คำสั่งที่ทำหน้าที่สลับข้อมูลทีละ 4 บิท ซึ่งมีประโยชน์ทางเลขคณิตบีซีดี ได้แก่ RLD (Rotate Left Digit) และ RRD (Rotate Righ Digit) มีการสลับข้อมูลดังนี้  
 
คำสั่ง RLD


        คำสั่ง RLD ย่อมาจาก Rotate Left Digit จะหมนุนข้อมูลครั้งละครึ่งไบท์ไปทางซ้ายโดยทำงานร่วมกันระหว่างแอ็กคิวมูเงเตอร์และข้อมูลในหน่วยความจำซึ่งบ่งด้วยค่าในคู่รีจิสเตอร์ HL ดังแสดงในรูป
 
 
ตัวอย่างการทำงานของคำสั่ง RLD
 
แสดงการทำคำสั่ง RLD
คำสั่ง RRD
 
      คำสั่ง RRD ย่อมาจาก Rotate Right Digit จะหมนุนข้อมูลครั้งละครึ่งไบท์ไปทางขวา โดยทำงานร่วมกันระหว่างแอ็กคิวมูเลเตอร์และข้อมูลในหน่วยความจำซึ่งบ่งด้วยค่าในคู่รีจิสเตอร์ HL ดังแสดงในรูป
 
 
ตัวอย่างการทำงานของคำสั่ง RRD
 
แสดงการทำคำสั่ง RRD
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น